วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัญลักษณ์จังหวัดเลย


ตราประจำจังหวัดเลย
ตวามหมายของตราประจำจังหวัดเลย

เป็นภาพพระธาตุศรีสองรัก ลักษณะอุเทสิกเจดีย์สร้างเป็นอนุสรณ์การปักปันเขตแดนในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
แห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2103 เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2106  ตั้งอยู่วัดพระธาตุศรีสองรัก
ซึ่งเป็นวัดทีี่ไม่มีพระสงฆ์พำนัก  ริมแม่น้ำหมัน บ้านหัวนายูงตำบลด่านซ้าย  องค์พระธาตุก่ออิฐก่อปูน มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 10.47 เมตร
สูง 19.19 เมตร  บนยอดพระธาตุมีแก้วครอบเป็นโคม มีกระดิ่งลูกเล็ก ๆแขวนอยู่เหนือโคม กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 (ที่มา : เอกสารกองโบราณคดีหมายเลข 21/2534)

ความหมายของคำขวัญของจังหวัดเลย

"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม"
ภูมิประเทศจังหวัดเลย เกิดจากการเคลื่อนตัวทรุดลงของเปลือกโลกเป็นเวลาหลายร้อยล้านปีมาแล้ว เกิดภูเขาลดหลั่นกันมากมาย
เป็นภูเขาที่มีพื้นที่ราบหลายแห่ง (Table land) เกิดพันธ์ไม้นานาพันธ์ุ์  จากการที่มีภูมิประเทศลาดเอียงไปทางเหนือจึงทำให้อากาศแผ่ปกคลุมหนาวเย็น
เพราะไม่มีแนวเขาสูงกั้น

ธงประจำจังหวัดเลย

     

ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า มีตราประจำจังหวัดเลยเป็นรูปพระธาตุศรีสองรักอยู่ในวงกลมบนพื้นผ้าทั้งสองด้าน



ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อ พรรณไม้ สนสามใบ
ชื่อ วิทยาศาสตร์ Pinus Kesiya
เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ทรงปลูกตามคำกราบบังคมทูลของนายเทียม คมกฤชอธิบดีกรมป่าไม้  เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินขึ้นยอดภูกระดึง  เมื่อเวลาเช้าของวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 (จากหนังสือรอยเสด็จมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2540) และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  ในงานวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในโอกาสที่ครองราชย์ปีที่ 50 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเลย

(ที่มา:: http://www.loei.go.th )
ปล.บล็อกนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นงานส่งอาจารย์ค่ะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น